วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553




ขนมลูกชุบแบรนด์สุพัตรา
ขนมไทยไฮโซ
จับกลุ่มพรีเมี่ยมต่อยอดสู่สากล



ตัวอย่าง  ขนมลูกชุบ
           ลูกชุบ เป็นขนมไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ในการปรุงแต่งให้ขนมมีรสชาติที่กลมกล่อม สีสันสวยงาม ทำจากถั่วเขียว นิยมทำเป็นรูปผลไม้ชนิดต่างๆ ปั้นเป็นลูกเล็กๆ พอคำ นิยมใช้ในงานพิธีมงคลต่างๆ และเหมาะที่จะเป็นของขวัญปีใหม ถือเป็นขนมไทยที่ขึ้นชื่อของไทยและมีการออกงานโชว์ต่างชาติมาแล้วมากมาย ปัจจุบัน ลูกชุบได้รับการตอบรับจากกลุ่มผู้บริโภคระดับพรีเมี่ยมและกำลังเป็นที่สนใจของตลาดต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น  ซึ่ง 'ลูกชุบสุพัตรา' ถือเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการขนมไทยที่ผลิตเฉพาะลูกชุบ ที่สามารถยกระดับลูกชุบให้เป็นที่ยอมรับของตลาดระดับบนได้

            " ผู้บริโภคจะสะดุดตากับความสวยงามของรูปลักษณ์ภายนอกและเมื่อได้ทานก็จะยิ่งยอมรับในรสชาติและสัมผัสได้ถึงความประณีตในการผลิต จุดนี้เองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้ขนมลูกชุบสุพัตราขึ้นมาเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค และถูกปากชาวต่างชาติที่ไม่นิยมทานขนมไทย เพราะปกติขนมไทยจะมีรสชาติหวาน ทำให้บางคนที่ทานหวานไม่ได้หรืองดของหวานจะไม่นิยมทาน เราจึงจับความต้องการเหล่านี้มาปรับสูตรปรุงรสชาติให้อ่อนหวานลง ทำให้รสชาติของลูกชุบสุพัตรามีความกลมกล่อมยิ่งขึ้น "




โชว์ผลงานในต่างประเทศ


                ด้วยรสชาติที่โด่ดเด่นและฝีมือที่ประณีต รวมไปถึงรสชาติที่กลมกลชาวต่างชาติด้ทดลองรัปประทานลูกชุบและขนนมไทยต่างๆ เกิดความสนใจและชักชวนให้ไปแสดงงานที่ประเทศจีน 2 ครั้งและประเทศญี่ปุ่นก็ได้รับความสนใจไม่แพ้ประเทศจีน
                                                                               


การวิเคราะห์ตลาด "ขนมลูกชุบ"

จุดแข็ง (Strength)
1. มีความรู้ – ความสามารถเฉพาะตัวในการผลิตขนมไทยได้พัฒนาริเริ่มสร้างสรรค์ของใหม่อยู่เรื่อย ๆ
2. ทีมงานเข้มแข็งร่วมกันรับผิดชอบ ไม่ให้เกิดความผิดพลาด
3. มีฐานลูกค้าเก่าสมัย ที่เป็นคนไทยในประเทศจีนที่ชื่นชอบขนมไทย
4. มีฐานลูกค้าใหม่ เช่น โรงแรมต่างๆในประเทศจีน
5. ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความเชื่อถือ เพราะเป็นฝีมือของคนไทยโดยตรง

จุดอ่อน (Weakness)
1. บางครั้งวัตถุดิบ เช่น ใบเตย ใบตอง เก็บไว้ได้ไม่นาน
2. บรรจุภัณฑ์ ยังไม่ดีพอ
3. ขนมไทย บางอย่างเก็บไว้ไม่ได้นาน
4. การผลิตขนมสดใช้ฝีมือประณีต จึงรับลูกค้าได้จำนวนจำกัด
โอกาส (Opportunost)
1. มีการออกแบบแพ็คเก็จเหมาะสมกับวาระเทศกาลต่างๆ
2. ในเทศกาลต่างๆ : วันปีใหม่ ประเพณีปฏิบัติให้ส่วนลด
3. มีรูปลักษณ์เฉพาะตัว โดยที่ลูกค้าไม่เกี่ยงราคา
4. มีโอกาสหาลูกค้าตลาดบนได้สูง
อุปสรรค
1. ผลิตภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในประเทศจีน
2. เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ตอนนี้ไม่แน่นอน การใช้เงินต้องใช้เวลาตัดสินใจนา
3. กำลังการซื้อลดลง
4. ต้องใช้เทคโนโลยีช่วยในการบรรจุภัณฑ์
5. สินค้าบางอย่างต้องผลิตด้วยมือ ทำให้การผลิตบางครั้งไม่เพียงพอ
6. มีคู่แข็งในตลาดเพิ่มขึ้นตลอดเวลา



                                                                                          




                                                          ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล
                                           กรุงเทพธุรกิจ (www.bangkokbiznews.com)
                                           http://www.siaminfobiz.com

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ลักษณะเด่นของประเทศจีน 中国的特点.

ธงชาติของประเทศจีน  ธงชาติประเทศจีนมี รูปดาวสีเหลือง 5 ดวงบนพื้นสีแดง (ดาวดวงใหญ่หมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์จีนซึ่งเป็นผู้นำ ดาวเล็กๆ ทั้งสี่ดวงหมายถึงชนชั้นที่ประกอบขึ้นเป็นสังคมจีน คือ ชนชั้นกรรมกร ชนชั้นชาวนา ชนชั้นนายทุนน้อย และชนชั้นนายทุนแห่งชาติ)
วัฒนธรรมประเทศจีน การเรียกชื่อสกุลของชาวจีนตรงกันข้ามกับภาษาไทย คือเรียกต้นด้วยชื่อสกุล ชื่อตัวใช้เรียกกันในหมู่ญาติ และเพื่อนสนิท โดยปกติชาวจีนมักไม่ทักทาย ด้วยการจับมือหรือจูบเพื่อร่ำลา
สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ชาวจีนมีเครือข่ายคนรู้จัก ( เหมือนกับการมีเส้นสายในไทย ) กล่าวกันว่าชาวจีนที่ไร้เครือข่ายคนรู้จัก เป็นผู้ที่เป็นจีนเพียงครึ่งเดียว จึงจำเป็นต้องทำความรู้จักกับผู้คนชาวต่างชาติ ซึ่งทำธุรกิจในประเทศจีน ดังนั้นควรให้ความสำคัญต่อวัฒนธรรมนี้ด้วยการเชื้อเชิญ

       การตลาดระหว่างประเทศแตกต่างกับการค้าระหว่างประเทศ อย่างไร ?

การตลาดระหว่างประเทศ  (International Marketing) 际市场营销。 คือ
                  การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
               
       การค้าระหว่างประเทศ (International trade) 国家之间的贸易。 คือ
                  การค้าระหว่างประเทศ  หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน



                                                            ขอขอบคุณแหล่งข้อมูล 
                                                               http://blog.spu.ac.th/
                                                               http://www.idis.ru.ac.th/
                                                               http://www.management.cmru.ac.th/